Yearly Archives: 2015

ธุรกิจอาหารย่อมต้องคงอยู่อย่างเสถียรตราบที่มนุษย์ยังคงดำรงชีพด้วยการกินอาหาร

12

ในภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้แต่ละประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับผลกระทบอันหลากมิติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็มักประสบกับปัญหาข้างต้นนั้นอยู่ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดการชะลอตัวอันขยายวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจทั้งสองขั้ว หรือประเทศยักษ์ใหญ่ในฝั่งยุโรปก็ตาม ถึงแม้จะมีการรวมกลุ่มก้อนเพื่อเกื้อหนุนกันทางเศรษฐกิจ หรือสร้างสถานการณ์ต่อรองทางอำนาจใด ๆ ก็ตาม ก็ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นมากมายนัก และปัญหาทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่เป็นตัวฉุดรั้งทำให้เกิดผลกระทบในระบบเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน แม้กระทั่งประเทศไทยเองก็ตาม ส่วนภัยธรรมชาติก็เป็นปัญหาสำคัญที่หลายประเทศต่างต้องเผชิญกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของฤดูกาลจนทำให้ผลผลิตการเกษตรต่าง ๆ ในหลายประเทศได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย เป็นต้น นี่เป็นตัวอย่างคร่าว ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอันหลากมิติที่เกิดขึ้นจริงทั่วทุกมุมโลกในขณะนี้

อย่างไรก็ตามไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดหรือเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม จะเป็นเช่นใด มนุษย์ก็ยังคงต้องดำรงชีพด้วยการกินอยู่ดี ดังนั้น ธุรกิจอาหารย่อมต้องคงอยู่อย่างเสถียรตราบที่มนุษย์ยังคงดำรงชีพด้วยการกินอาหาร นั่นเป็นสัจนิรันดร์ และในโลกแห่งไซเบอร์ปัจจุบัน เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยเฉียบไวนั้นเป็นเครื่องมืออันชาญฉลาดที่มนุษย์ได้พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งย่อโลกให้แคบลงอย่างไม่น่าเชื่อ ทุกคนสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง และเรียนรู้สิ่งที่แตกต่างจากทั่วทุกมุมโลกได้ง่ายดายและรวดเร็วเพียงปลายนิ้วสัมผัส จนบางครั้งเกิดเป็นภาวะการเสพติดไอทีที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก แต่ในทางกลับกันเป็นการสื่อให้รู้ว่าสิ่งที่ธุรกิจอาหารจะขาดไม่ได้ก็คือการติดต่อสื่อสารนั่นเองซึ่งต้องรู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อเข้าสู่ระบบของธุรกิจได้ง่ายที่สุดและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง

ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจขนาดย่อมประสบความสำเร็จ

ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจขนาดย่อมประสบความสำเร็จ
ธุรกิจขนาดใหญ่จะได้เปรียบและมีโอกาสมากกว่าธุรกิจขนาดย่อมแต่ธุรกิจขนาดย่อมก็สามารถเผชิญกับปัญหาและดำรงอยู่ได้ สร้างความเจริญเติบโตโดยการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และปัจจัยอื่นๆ ดังนี้

1.การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) การสร้างศักยภาพและความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยอาศัยองค์ประกอบต่อไปนี้

– มีความยืดหยุ่น (Flexiblity) จากข้อจำกัดของธุรกิจขนาดใหญ่ที่แม้ว่า จะได้เปรียบธุรกิจเล็ก ในด้านการผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก ด้วยต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ต่ำกว่า แต่ก็ไม่อาจปรับเปลี่ยน การผลิตได้อย่างรวดเร็วเมื่อความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง เพราะการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้งต้องจ่ายค่าใช้จ่ายสูง ไม่คุ้มทุน ในขณะที่ธุรกิจขนาดย่อมสามารถปรับตัวได้รวดเร็วกว่า ในการที่จะสนองความต้องการเฉพาะ ของลูกค้าด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า ฉะนั้นผู้ประกอบการจะต้องรู้จักใช้โอกาสนี้

– สร้างนวัตกรรม (Innovation) นวัตกรรมในการผลิตหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ มักมีจุดเริ่มต้นมาจาก นักประดิษฐ์อิสระ และจากกิจการขนาดเล็กในขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ มักจะพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมีพื้นฐานการประดิษฐ์คิดค้น จากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กให้ดีกว่าเดิม และพยายามทำกำไร หรือหาผลตอบแทน จากการลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์ และ โรงงาน ผู้ประกอบกิจการขนาดเล็กจำเป็นต้องสร้างนวัตกรรม หรือสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นด้วย จึงจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้

2.การบริหารธุรกิจขนาดย่อม ( Small Business Administration (SBA) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

– นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product innovation) เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ รวมถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดีกว่าเดิม

– นวัตกรรมบริการ (Service innovation) เสนอบริการที่แตกต่างและดีกว่าเดิมหรือเหนือกว่าคู่แข่งขัน

– นวัตกรรมกระบวนการ (Process innovation) เป็นการคิดค้นกระบวนการใหม่ ๆ ทั้งการผลิตสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

– นวัตกรรมการบริหารจัดการ (Management innovation) เป็นการคิดหาวิธีการ จัดการที่มีประสิทธิภาพใหม่ ๆ เพื่อจัดการกับทรัพยากรของกิจการให้ได้ประโยชน์สูงสุด

3.สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Close Relationship to Customers) ในเมื่อธุรกิจขนาดเล็กอยู่ใกล้ชิดกับลูกค้า จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยการสร้างสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า และเสนอสินค้าและบริการพิเศษให้เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า

4.ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ (Product Quality) ภายใต้สภาพการแข่งขันอย่างรุนแรงของธุรกิจ วิธีที่จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กประสบความสำเร็จได้ จะต้องผลิตสินค้าหรือบริการ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานในระดับที่ลูกค้า ต้องการ ในราคาที่เต็มใจจะจ่าย โดยผู้ประกอบการจะต้องรักษาคุณภาพให้มีความสม่ำเสมอ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าพอใจ และต้องการ มากกว่าผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องสร้างคุณภาพในตัวสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานเพราะไม่เพียงแต่ จะรักษาลูกค้าเดิมได้ยังเป็นการเพิ่มลูกค้าใหม่ได้อีกมาก นอกจากนี้ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ถึงสิ่งที่จะทำให้สามารถ ดำเนินการให้ประสบความสำเร็จได้

ทักษะและประสบการณ์จะเป็นคุณสมบัติสำคัญที่นายจ้างต้องการจากพนักงาน

3

แม้ว่าทักษะและประสบการณ์จะเป็นคุณสมบัติสำคัญที่นายจ้างต้องการจากพนักงาน แต่ไม่ว่าคุณจะเก่งกาจขนาดไหน หากไม่มีทัศนคติที่ดีควบคู่กันไปแล้ว องค์กรของคุณก็จะไม่อาจเกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สมดุลได้ คนทำงานจึงควรพร้อมด้วย 5 ทัศนคติเชิงบวกต่อไปนี้ เพื่อความก้าวหน้าและความสำเร็จไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็ตาม เคารพผู้อื่นไม่เฉพาะแต่ผู้ที่มีอาวุโสกว่าเราเท่านั้นที่เราควรเคารพและให้เกียรติ แต่เราควรเคารพทุก ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่คนที่มีตำแหน่งต่ำกว่าเรา เราควรปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความสุภาพ แม้เราอาจไม่เห็นด้วยกับเขาในบางเรื่อง แต่ก็ควรโต้แย้งด้วยความสุภาพและให้เกียรติเสมอ ภูมิใจในตนเองคนที่มีความภูมิใจในตนเองเกี่ยวกับงานที่ตนทำมีแนวโน้มที่จะทุ่มเทเพื่อความสำเร็จ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่นายจ้างมองหา ความภูมิใจไม่ได้หมายความว่า เราจะหยิ่งทะนงไม่ยอมรับความช่วยจากผู้อื่น แต่หมายถึง เราภูมิใจในผลงานที่ออกมาจากความทุ่มเทของเราและอยากจะทำให้มันดีขึ้น ๆ เรื่อย ๆ

เมื่อพนักงานรับปากแล้วควรทำให้ได้ เพราะนอกจากจะแสดงถึงความรับผิดชอบแล้วการรับปากทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ยังทำให้พนักงานต้องใช้ความพยายามมากขึ้นเพื่อจะทำงานนั้นให้สำเร็จ ซึ่งเป็นการพัฒนาการทำงานและความคิดของตนไปด้วย พนักงานที่มีความคิดริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ชอบที่จะคิดนอกกรอบ เพื่อค้นหาวิธีที่แตกต่างในการทำสิ่งเดียวกัน คืออีกคุณสมบัติหนึ่งที่องค์กรต้องการ แม้สิ่งที่คิดอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แม้จะล้มเหลว แต่คนที่มีทัศนคติเช่นนี้จะไม่หยุดคิดอะไรใหม่ ๆ ตลอดเวลา และสามารถสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหม่ที่เป็นที่ยอมรับและประสบความสำเร็จได้สักวัน คนมีน้ำใจอยู่ที่ไหนใคร ๆ ก็รัก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ หรือช่วยเพื่อนร่วมงานให้ทำงานสำเร็จก็ล้วนแต่สำคัญทั้งสิ้น ยิ่งเรามีน้ำใจต่อผู้อื่นมากเท่าไร เราก็จะมีคนอยากร่วมงานกับเรามากเท่านั้น และเพิ่มโอกาสได้รับมอบหมายงานที่สำคัญมากขึ้นด้วย

การสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานจะช่วยให้เรามีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น

3

คนทำงานบางคนกำลังคิด และตั้งคำถามกับตัวเองว่ากำลังจะหมดไฟในการทำงานหรือไม่ เมื่อเริ่มสำรวจตัวเอง เราพบว่าการทำงานในแต่ละวันของเราเต็มไปด้วยความเหนื่อยล้า ขาดแรงจูงใจในการทำงาน และไม่อยากทำงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันอีกต่อไปแล้ว นี่อาจเป็นหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าเรากำลังหมดไฟในการทำงาน อาการหมดไฟในการทำงานของคนทำงาน เห็นได้จากอาการเหนื่อยล้าจากการทำงาน ไม่ใช่ร่างกายของเรา แต่เป็นจิตใจของเราต่างหากที่เหนื่อยอ่อน แล้วทำให้เราคิดไปว่า เราไม่สามารถทำงานได้ต่อไปหมดไฟในการทำงานอีกแล้ว หรือชีวิตทำงานของเราไม่ตื่นเต้นเร้าใจเหมือนวันก่อน ๆ บางครั้ง เราอาจรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าวอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้ทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงานเริ่มไม่มีความสุข และท้ายที่สุด เราก็ต้องหางานใหม่ เพราะคิดว่างานใหม่จะดีกว่างานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน บางครั้ง เราอาจะต้องยอมรับว่าการลาออกหรือมองหางานใหม่ ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่เป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาที่ดีที่สุดต่างหาก หลายคนไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร เราจึงจะไม่หมดไฟในการทำงาน หรืออย่างน้อยที่สุด คือรู้สึกไม่เบื่อที่จะต้องไปทำงานทุกวัน เคล็ดลับเหล่านี้ จะช่วยให้คนทำงานรู้สึกมีความสุขในการทำงาน แม้ว่าจะผ่านไปหลายปีแล้ว ก็ยังคงรู้สึกเหมือนว่าเรายังคงตื่นเต้นกับการทำงานอยู่เสมอ

สร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราหมดไฟในการทำงานอย่างรวดเร็ว น่าจะมาจากการที่เราชอบคิดเล็กคิดน้อย บางคนชอบคิดว่าการไม่ใช่คนโปรดของเจ้านาย ทำให้เติบโตในหน้าที่การงานช้ากว่าคนอื่น แต่ความเป็นจริงแล้ว อาจเป็นเพราะเรายังทุ่มเทไม่มากพอต่างหาก เราจึงไม่ก้าวหน้าเสียที การเปลี่ยนแนวคิดเพื่อให้เกิดทัศนคติในการทำงานที่ดี จะช่วยให้เรามีแรงใจในการทำงานมากขึ้น พยายามอย่าคิดว่าเพราะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ให้คิดว่าต้องทำอย่างไรเราจึงจะทำงานได้ดีขึ้น อย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น หากเราทำงานดีก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะฉะนั้น ต้องไม่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม หรือคนรอบข้างที่จะสร้างความไม่สบายใจให้กับเรา ต้องยอมรับว่าบางคนหมดไฟในการทำงานเร็ว เพราะมีทัศนคติด้านลบมากเกินไปในการทำงาน การเพิ่มความคิดด้านบวกจะทำให้เรายังคงทำงานได้อย่างมีความสุข

เคล็ดลับการออม สำหรับช่วงเริ่มสร้างครอบครัว

เคล็ดลับการออมสำหรับคนวัยต่างๆมีด้วยกันดังนี้ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเริ่มสร้างครอบครัว ช่วงขยายครอบครัว ช่วงการงานมั่นคง และปิดท้ายด้วยช่วงการเกษียณ โดยมีแนวทางการวางแผนเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตบั้นปลายด้วยกันดังนี้

1.ทำบัญชีรับจ่าย และประเมินฐานะการเงิน โดยเริ่มจากการประเมินฐานะทางการเงินของตัวเองก่อน  ด้วยการจดบัญชีรายรับ และรายจ่ายที่มีในแต่ละเดือน เพื่อคำนวณความสามารถในการออมและ การจดบัญชีอย่างสม่ำเสมอช่วยให้รู้และแยกแยะค่าใช้จ่ายที่จำเป็นได้ เช่น การผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือค่าบัตรเครดิต และค่าอื่นๆ  เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินของให้รัดกุมมากขึ้น

2.วางแผนภาษี หากเป็นผู้มีเงินได้และต้องเสียภาษี อย่าลืมใช้สิทธิประโยชน์จากค่าลดหย่อนภาษี เช่น ค่าลดหย่อนคู่สมรส ค่าลดหย่อนของบุตร ค่าลดหย่อนของบิดามารดา ค่าลดหย่อนจากเบี้ยประกันชีวิต หรือค่าลดหย่อนจากการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะ สิทธิประโยชน์พื้นฐานเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ควรศึกษาและใช้ประโยชน์ เพราะจะช่วยลดรายจ่ายได้อีกทางหนึ่ง

3.บริหารเงิน สร้างรายได้จากการลงทุน นอกจากจะต้องลดภาระและค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว การเพิ่มรายได้ก็เป็นเรื่องสำคัญที่สามารถบริหารเงินออมให้สร้างรายได้มากขึ้น แทนที่จะฝากเงินไว้ที่ธนาคาร อย่างเช่น การลงทุนการค้า หรือธุรกิจที่ตัวเองมีความรู้ความชำนาญ เพราะจะให้โอกาสผลตอบแทนสูงในระยะยาวแต่ความเสี่ยงก็สูงด้วย

ดังนั้นการเริ่มออมเงินช่วงอายุของการเริ่มต้นทำงาน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเริ่มวางแผนทางการเงินไปพร้อมกับการเริ่มชีวิตของวัยทำงาน เพราะคนวัยนี้ต้องมีความรับผิดชอบที่สูงขึ้น ฉะนั้นเมื่อเริ่มมีรายได้เป็นของตัวเองแล้วจำเป็นที่จะต้องมีวิธีการบริหารเงินอย่างเหมาะสมและต้องสร้างนิสัยการออมอย่างสม่ำเสมอ การออมที่จะประสบความสําเร็จนั้นผู้ออมจะต้องมีวินัยในการออมที่ดี ก็จะช่วยทำให้มีเงินทุนไว้ใช้ในยามเกษียณอายุที่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตในปั้นปลายชีวิตและครอบครัว เพียงเท่านี้ก็จะสามารถสร้างสุขให้กับตนเองและครอบครัวได้แล้ว

แนวคิดของธุรกิจเครือข่ายต่อผู้บริโภค

9cfeeb331a9a93a201c62cd020d142d4
ปัจจุบันมีรูปแบบวิธีการดำเนินธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย เมื่อพูดถึงการทำการค้าหลายคนนึกถึงว่าต้องใช้เงินทุนมาก, ต้องจ้างแรงงานจำนวนมาก, ต้องผลิตสินค้า, ต้องมีโรงงาน, ต้องมีทำเลหน้าร้าน ฯลฯ จึงจะทำให้พวกเราส่วนใหญ่ ไม่มีโอกาสได้เป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเองสักที เพราะขาดเงินทุน ขาดคนมีฝีมือที่ไว้วางใจได้ ธุรกิจเครือข่ายจะเป็นเส้นทางที่ดีที่สุดเส้นทางหนึ่ง ที่พร้อมจะเปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงเสมอ ธุรกิจเครือข่ายที่ใช้วิธีการแนะนำบอกต่อนี้จะมีลักษณะที่พิเศษกว่าการตลาดแบบทั่วๆไป คือ ความสามารถในการขยายตัวของจำนวนผู้บริโภคที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นได้แบบไม่จำกัดจำนวน โดยอาศัยเพียงการแนะนำสินค้าหรือชักชวน จากหนึ่งคนไปทำการแนะนำกับคนอีกหลายๆคน ก็จะเกิดการขยายตัวของจำนวนผู้บริโภค และคนทำธุรกิจไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

ธุรกิจเครือข่าย เป็นระบบธุรกิจการตลาดรูปแบบใหม่ที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถได้เป็นเจ้าของธุรกิจที่สร้างรายได้จำนวนมาก โดยไม่ต้องมีความเสี่ยงและไม่ต้องลงทุนเงินเป็นจำนวนมากเหมือนกับการทำธุรกิจทั่วๆไป เพียงเริ่มต้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดี และเมื่อเกิดความประทับใจในตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้ก็ทำการแนะนำบอกต่อให้คนที่รู้จักได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นเหมือนกับตนเป็นการโฆษณาแบบปากต่อปาก เมื่อมีการซื้อผลิตภัณฑ์ใช้ตามคำบอกเล่าจากผู้แนะนำ ก็จะทำให้เกิดกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการโฆษณาและพ่อค้าคนกลาง เหมือนกับการตลาดแบบเดิม ที่การเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคจะต้องผ่านระบบพ่อค้าคนกลาง

ระบบธุรกิจนี้จะใช้หลักการกระจายสินค้า โดยตัวของผู้บริโภคสินค้าโดยตรงเป็นสำคัญ เป็นผู้กระจายสินค้าและบริการให้กับทางบริษัทขายตรงนั้นเอง ในลักษณะของการเป็นตัวแทนอิสระหรือผู้จำหน่ายอิสระ โดยผู้บริโภคท่านนั้นๆจะต้องเข้าเป็นสมาชิกของบริษัทขายตรงนั้น เพื่อเข้าร่วมรับสิทธิในผลประโยชน์ทางการตลาดต่างๆ ซึ่งทางบริษัทขายตรงนั้นกำหนดให้ เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการกระจายสินค้าและบริการสู่ผู้บริโภคท่านอื่นๆ ต่อไป ร่วมทั้งยังได้รับผลประโยชน์ในการชักจูงผู้บริโภครายใหม่ๆเข้ามาเป็นสมาชิกร่วมในทีมงานของตนอีกด้วย ซึ่งถือว่าการชักจูงสมาชิกใหม่ ให้เข้าสู่ระบบเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดหรือเป็นหัวใจสำคัญ สำหรับระบบงานขายตรงก็ว่าได้

การทำธุรกิจครอบครัว เพิ่มโอกาสในการก่อร่างสร้างตัวได้

การทำธุรกิจที่ใช้ลักษณะการบริหารและจัดตั้งในรูปแบบครอบครัวนั้นเป็นวิธีการทำธุรกิจที่ได้รับความนิยมกันอย่างมาก เพราะการทำธุรกิจในรูปแบบที่ดำเนินการทุกอย่างด้วยตนเองทั้งหมดค่อนข้างมากซึ่งธุรกิจที่ดำเนินการบุกเบิกด้วยตนเองทั้งหมดมีโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดได้ค่อนข้างสูง ฉะนั้นการทำธุรกิจครอบครัวจึงเป็นรูปแบบที่ยึดครองหัวใจของผู้ประกอบการหลายคนซึ่งการทำธุรกิจในรูปแบบครอบครัวนี้มีข้อดีด้วยกัน คือ
1.ได้ความร่วมมืออย่างเต็มที่จากทุกฝ่าย ซึ่งผู้ประกอบการอาจจะหาไม่ได้เลยหากต้องไปจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบอื่นๆ
2.ทำงานแบบใจถึงใจการมอบหมายงานในเรื่องต่างๆจึงสามารถทำได้ง่ายและเข้าใจรวดเร็วกว่าการมอบหมายงานผ่านพนักงานที่เป็นคนนอก
3.มีทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่หลากหลายซึ่งการทำธุรกิจในลักษณะครอบครัวนั้นแน่นอนว่าทุกคนในบริษัทต่างก็มีที่มาจากต้นตระกูลเดียวกัน ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาจึงมีทางออกมากขึ้นกว่าเดิมเป็นพิเศษ
4.มีวัฒนธรรมในองค์กรเฉพาะตัวเพราะทุกคนจะรู้หน้าที่และมารยาทของการทำงานในหน้าที่ของตนว่าควรที่จะอยู่ซึ่งข้อดีตรงนี้ส่งผลให้การดำเนินงานของบริษัทมีประสิทธิภาพและใช้เวลาในการทำงานน้อยลงอีกด้วย
5.ความลับบริษัทไม่มีวันรั่วไหลเนื่องจากการทำธุรกิจถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนภายในบริษัทจะต้องช่วยกันเก็บรักษาเอาไว้ไม่ให้เรื่องรั่วไหลออกไปสู่ภายยนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการรั่วไปอยู่ในมือของคู่แข่งซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากที่สุด
6.เงินทองไม่รั่วไหลเนื่องมาจากผู้บริหารพนักงานต่างก็เป็นญาติหรือบุคคลภายในครอบครัวด้วยกัน จึงเป็นไปได้ยากที่เงินทองจะรั่วไหลออกไปสู่ภายนอกโดยที่ผู้ประกอบการไม่รู้ตัวจึงสบายใจได้ในว่าทรัพย์สินจะไม่หายไปไหน เพราะสุดท้ายแล้วมันก็ยังหมุนเวียนอยู่ในบริษัท

ดังนั้นการทำธุรกิจครอบครัวนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวเพื่อรับความท้าทายหากต้องการอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของกติกาการค้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผู้ที่ต้องการจะเริ่มทำธุรกิจครอบครัวควรจะมีความรู้ ความสามารถในด้านนี้มาโดยตรง เพื่อที่จะสามารถต่อยอดทางธุรกิจให้เจริญเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ฝึกฝนการเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยตนเองได้ไม่ยากอย่างที่คิด


คงมีคนหลายคนที่มีความฝันอยากเป็นผู้ประกอบการ อยากเป็นเจ้านายของตัวเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีหลายเงื่อนไขที่ทำให้ยังไปไม่ถึงจุดนั้น และด้วยเหตุผลที่ว่า เรายังมีค่าใช้จ่ายประจำและมีภาระที่ต้องดูแลอยู่ทุกเดือน ทำให้การลาออกจากบริษัทเพื่อมาทำตามฝันนั้นดูจะยากไปสักนิด แต่รู้ไหมว่าในขณะที่เรายังต้องเป็นพนักงานให้กับบริษัทอื่นอยู่นั้น เราก็สามารถที่จะพัฒนาศักยภาพในการทำธุรกิจของตัวเองและเตรียมตัวก่อนที่จะไปเป็นผู้ประกอบการอย่างที่หวังในอนาคตได้ด้วยวิธีเหล่านี้

1.สมมุติตัวเองเป็นCEO
ความคิดเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง การเริ่มต้นคิดและลงมือทำสิ่งต่างๆ โดยตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้นจะทำให้เข้าใกล้เป้าหมายเร็วขึ้น ลองเริ่มต้นจินตนาการว่าเราเป็น CEO ในแผนกที่ทำงานอยู่ และตั้งเป้าหมายขึ้นมาว่าจะทำอะไรให้สำเร็จในระหว่างที่เราบริหารงานองค์กรนี้ได้บ้าง หลังจากนั้นลองวางแผนงานให้เป็นระบบ เลือกใช้เครื่องมือต่างๆ มาช่วยในการทำงาน โดยอย่าลืมสำรวจตัวเองเป็นระยะๆ ว่าแนวทางการทำงานที่ทำอยู่นั้นส่งผลดีผลเสียให้แก่องค์กรหรือไม่ มีส่วนไหนที่จะสามารถปรับปรุง ลดทอน หรือเพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อช่วยให้องค์กรที่เราดูแลอยู่ได้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ต้นทุนต่ำสุด และเพิ่มผลกำไรหรือผลประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างเช่นถ้าทำงานเ็ป็นผู้จัดการแผนกขาย แทนที่จะทำให้ได้ยอดขายตามเป้าไปเรื่อยๆ อาจลองกำหนดเป้าหมายเพิ่มเติมขึ้นมา เช่นเพิ่มกำไรให้มากขึ้นด้วยการบริหารจัดการต้นทุน หรือเปิดตลาดใหม่ๆ นอกเหนือจากตลาดปัจจุบัน หรือพัฒนาสินค้าใหม่ให้ตรงกับความต้องการตลาดมากขึ้น แล้ววางแผนและประสานงานให้ดำเนินไปตามทิศทางนั้น การทำงานอยู่บนพื้นฐานความคิดว่าเราเป็นผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัทเช่นนี้ นอกจากจะได้ฝึกฝนวิธีคิดแบบผู้บริหารที่จะต้องโฟกัสไปที่ผลลัพธ์และเป้าหมายซึ่งมีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจต่อไปในอนาคตแล้ว งานที่รับผิดชอบก็จะเป็นงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อทั้งตัวเราเองและองค์กรด้วย

2.สร้างแรงบันดาลใจ
บรรดาผู้ประกอบการรายใหม่ๆ มักจะมีเงินส่วนที่เป็นรางวัลให้พนักงาน เช่นโบนัสหรือคอมมิชชั่นไม่ค่อยมากนัก เนื่องจากผลประกอบการยังมีไม่มากพอจะทำเช่นนั้นได้ แต่ก็จะมีช่องทางที่สามารถให้โอกาสแก่เหล่าพนักงานให้มีส่วนร่วมกันหาทางทำเงินเพิ่มกำไรใ้ห้บริษัทในทางอื่นๆ แล้วค่อยแบ่งปันผลกำไรให้เป็นรางวัลความพยายามแก่พนักงานได้ การให้โอกาสพนักงานเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของบริษัทและให้รางวัลตอบแทนเช่นนี้ สามารถแรงบันดาลใจให้พนักงานรู้สึกกระตือรือร้นในการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่หวังไว้ได้มากขึ้น ลองฝึกฝนการเป็นผู้นำผู้สร้างแรงบันดาลใจให้ลูกทีมดูโดยสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกทีมในแผนกหรือองค์กรที่ทำงานอยู่ โดยการผลักดันไอเดียใหม่ๆ ของลูกทีมที่เกี่ยวข้องกับงานที่เรารับผิดชอบ คอยให้กำลังใจและชื่นชมเมื่อลูกทีมทำงานได้สำเร็จ รวมถึงช่วยให้คำแนะนำเมื่อติดปัญหา คุณสมบัติการเป็นผู้นำที่สามารถผลักดันให้ลูกน้องพัฒนาและเติบโตได้ด้วยตัวเองนี้จะติดตัวไปเมื่อคุณได้เริ่มมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ซึ่งอาจช่วยทำให้องค์กรเติบโตและพัฒนาได้ด้วยพลังของทีมงาน

3.ทำโปรเจ็คคู่ขนานไปกับงานที่ทำ
ในความเป็นจริงอาจจะไม่จำเป็นต้องรอลาออกจากงานก่อนแล้วเริ่มธุรกิจของตัวเองก็ได้ อาจจะลองเริ่มต้นทำธุรกิจเล็กๆ ของตัวเองควบคู่ไปกับการทำงานประจำ โดยอาจจะเจียดเวลาสัก 1-2 ชั่วโมงตอนเย็นของทุกวัน หรือใช้เวลาวันหยุดสุดสัปดาห์มามองหาโอกาสในการทำธุรกิจ แล้วเริ่มต้นคิดและจดบันทึกสิ่งที่คิดว่าสามารถทำได้ และค่อยๆ พัฒนาโปรเจ็คขึ้นมาโดยใช้เวลาว่างจากการทำงานประจำ ธุรกิจที่อาจพอทำได้ในสถานการณ์เช่นนี้อาจจะเป็นโปรเจ็คง่ายๆ ไม่ซับซ้อนนัก เช่นซื้อของมาขายทางอินเตอร์เน็ตหรือขายที่ตลาดนัดวันเสาร์อาทิตย์เป็นต้น ซึ่งการได้ลองทำธุรกิจควบคู่ไปกับการทำงานประจำเช่นนี้นอกจากจะเป็นการกระจายความเสี่ยงหากธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังเป็นการพิสูจน์ทฤษฎีของตัวเราเอง ถ้าธุรกิจประสบความสำเร็จก็เป็นสิ่งที่เพิ่มความมั่นใจให้กับเราว่ามาได้ถูกทางแล้ว แต่ถ้าผิดพลาดอย่างน้อยก็ทำให้เรารู้ว่าเป็นเพราะเหตุใดและสิ่งใดควรหลีกเลี่ยงไม่ทำในอนาคต และไม่ว่าผลจะออกมาเป็นแบบไหนอย่างน้อยเราก็จะได้ทักษะและวิธีคิดในการทำธุรกิจด้านในด้านหนึ่งติดตัวกลับมาอย่างแน่นอน

4.ยอมรับข้อผิดพลาด
การนำเสนอความคิดใหม่ๆ นั้น บางอย่างก็สามารถนำไปต่อยอดจนประสบความสำเร็จได้มากมาย แต่ก็ยังมีอีกหลากหลายแนวคิดที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ อย่างไรก็ตามการเสนอความคิดเหล่านี้ไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็น่าจะมีประโยชน์อยู่บ้าง โดยเฉพาะความคิดที่ผิดก็สามารถใช้เป็นประสบการณ์เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป ดังนั้นในการฝีกฝนการบริหารงานในฐานะเจ้าของธุรกิจจึงไม่ควรมองข้ามการฝึกฝนคำพูดเชิงให้กำลังใจและยอมรับข้อผิดพลาดของพนักงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ ลองมอบรางวัลให้กับความพยายามที่จะเสนอไอเดียแม้ว่าจะนำไปใช้ไม่ได้ก็ตาม แทนที่การตำหนิต่อว่าที่บั่นทอนกำลังใจ เพราะการลงโทษเช่นนั้นจะทำให้ลูกทีมของเราไม่กล้าแสดงความคิดเห็นและจะทำให้องค์กรหยุดพัฒนาไปข้างหน้า

5.กำหนดเป้าหมายที่ท้าทายมากขึ้น
โดยปกติแล้วในทุกๆ ธุรกิจก็จะมีการตั้งเป้าหมายเอาไว้อยู่แล้ว ความทะเยอยานของเราจะนำสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น แต่การกำหนดจุดมุ่งหมายที่สูงขึ้นนั้นจะต้องอยู่ในขอบเขตที่เราสามารถทำได้จริง และจะต้องระบุเป้าหมายให้แน่ชัด รวมถึงต้องลงรายละเอียดให้ลึกว่าแต่ละคนในทีมมีหน้าที่ทำอะไรและจะไปถึงจุดมุ่งหมายได้อย่างไร และต้องย้ำกันในทีมบ่อยๆ ถึงแผนที่วางเอาไว้เพื่องานดำเนินไปอย่างราบรื่น วิธีการกำหนดเป้าหมายท้าทายเช่นนี้จะช่วยให้ทีมมีมาตรฐานการทำงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

ถึงแม้เราจะยังไม่ได้มีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่อย่างน้อยเราก็ยังสามารถฝึกฝนและหาประสบการณ์ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้นได้ไม่ยาก เพียงลองมองเรื่องใกล้ๆ ตัวเพื่อปรับมุมมองความคิดของตัวเองให้เป็นผู้ประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้นจริงๆ

การเริ่มต้นธุรกิจ SMEs ควรเริ่มต้นอย่างมีหลักการและเหตุผลที่เป็นระบบ

23

SMEs หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นธุรกิจฐานรากของระบบเศรษฐกิจไทย สร้างผลผลิต สร้างงาน สร้างรายได้ ให้เกิดขึ้นในประเทศ SMEs เป็นพลังขับเคลื่อนในการสร้างอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปัญหาของ SMEs ที่มีมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การขาดความรู้ความชำนาญในการประกอบการ การตลาด เงินทุนและเทคโนโลยี เป็นต้น สำหรับปัญหาเร่งด่วน 2 ปัญหาหลักของ SMEs ไทย คือ ปัญหาด้านการเงินและปัญหาด้านการตลาด  ขณะนี้ในภาครัฐกำลังเร่งสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและบริการภาครัฐให้มีความพร้อมและกระจายอย่างทั่วถึงเพื่อลดปัญหาและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ มีการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการและยกระดับทักษะของแรงงานใน SMEs เร่งการส่งเสริมความเชื่อมโยงและการรวมกลุ่มวิสาหกิจ การเชื่อมโยงนี้ยังมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาและวางรากฐานเพื่อให้เกิดการเติบโต ในวิสาหกิจยุทธศาสตร์สำคัญเฉพาะกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย (1) วิสาหกิจส่งออก โดยเน้นการวางตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ทีมีโอกาสและศักยภาพสูงในตลาดส่งออก รวมทั้งการยกระดับสินค้าไปสู่ตลาดที่สูงขึ้น การสร้างผู้ประกอบการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการที่ใช้ฐานความรู้สมัยใหม่ เพื่อให้เป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจไทย การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างงานและสร้างรายได้ และ (2)วิสาหกิจชุมชน ให้มีการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพสูงรวมทั้งเชื่อมโยงและเกิดการพัฒนาร่วมกัน ส่วนในภาคประชาชนก็จะต้องช่วยในการสร้างเสริมและอุดหนุน SMEs ให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน

การเริ่มต้นธุรกิจ SMEs ควรเริ่มต้นอย่างมีหลักการและเหตุผลที่เป็นระบบ เพื่อการดำเนินงานอย่างมีแบบแผน มีลำดับขั้นตอนและเพื่อความผิดพลาดที่น้อยที่สุดทั้งนี้ต้องอาศัยการเตรียมการล่วงหน้า ด้วยการวางแผนงานที่ดี มีการคาดการณ์อนาคต และคิดวิธีการรองรับไว้อย่างมีประสิทธิภาพ แผนธุรกิจ (Business Plan) มีความสำคัญมากสำหรับการเริ่มต้นและการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการทุกขนาด เพราะแผนธุรกิจจะเป็นบทสรุปแห่งกระบวนการคิด และการตัดสินใจ ที่จะถ่ายทอดความคิดของผู้ทำธุรกิจออกมาเป็นช่องทางแห่งโอกาสทางธุรกิจ แผนธุรกิจจึงเปรียบเสมือนแผนที่ในการเดินทางทางธุรกิจ ที่ช่วยกำหนดทิศทาง รวมถึงชี้แนะขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อการก้าวย่างทางธุรกิจในโลกแห่งการแข่งขันที่กว้างใหญ่และรุนแรงในปัจจุบัน